วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การหมุนเวียนของเลือด

ารหมุนเวียนของเลือด
            อาหารที่เรากินเข้าไปเมื่อผ่านกระบวนการย่อยอาหารจะได้อนุภาคที่เล็กที่สุดซึ่งสามารถแพร่ผ่านเข้าสู่ผนังของลำไส้เล็กได้จากนั้นจะแพร่เข้าสู่หลอดเลือด แล้วถูกนําไปยังส่วนต่างๆของร่างกายโดนระบบหมุนเวียนของเลือดเช่นเดียวกับกาซออกซิเจนที่เมื่อถูกนำเข้าสู่ร่างกายแล้วจะถูกนําไปยังเซลล์ ต่างๆของร่างกายโดยเม็ดเลือดแดง และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากกระบวนการหายใจ จะถูกลําเลียงออกจากเซลล์ทางพลาสมา ซึ่งการหมุนเวียนของเลือดและการหมุนเวียนของก๊าซจะเกิดควบคู่กันไป
ในระบบหมุนเวียนเลือดประกอบด้วย เลือด หลอดเลือด และ หัวใจ
หัวใจ
หัวใจของมนุษย์มีขนาดเท่ากับกำปั้นที่กำแน่นของผู้ที่เป็นเจ้าของ

การไหลเวียนของเลือด
การไหลเวียนของเลือด
   หัวใจ (heart) ทําหน้าที่สูบฉีดเลือดให้ไหลไปตามหลอดเลือดไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย แล้วไหลกลับคืนสูหัวใจ หัวใจประกอบด้วยกล้าเนื้อพิเศษที่เรียกว่า กล้ามเนื้อหัวใจ แบ่งห้องออกเป็นห้องบน (atrium) 2 ห้อง และห้องล่าง (ventricle) 2 ห้อง หัวใจห้องบนจะเล็กกว่าห้องล่าง ระหว่าง หัวใจห้องบนและห้องล่างจะมีลิ้นกั้นเพื่อป้องกันไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ หัวใจห้องล่างซ้ายจะมี ผนังหนาที่สุด เพราะหัวใจห้องล่างซ้ายมีหน้าที่สูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย
heart (หัวใจ)


ระบบหมุนเวียนของเลือดในคน
     ในร่างกายมนุษย์มีหัวใจทำหน้าที่สูบฉีดโลหิตให้ไหลเวียนอยู่ในเส้นเลือด การสูบฉีดโลหิตของหัวใจ ทำให้เกิดแรงดันให้เลือดไหลไปตามเส้นเลือดไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย และไหลกลับคืนสู่หัวใจ โดยหัวใจของคนเราตั้อยู่ในทรวงอกระหว่างปอดทั้งสองข้างค่อนมาทาด้านซ้ายชิด ผนังทรวงอก แบ่งออกเป็น 4 ห้อง ห้องบนสองห้อง มีผนังบาง เรียกว่า เอเทรียม ( atrium ) ส่วนสองห้องล่างมีขนาดใหญ่กว่าและผนังหนา เรียกว่า เวนทริเคิล ( ventricle ) ระหว่างห้องบนกับห้องล่างทั้งสองซีกจะมีลิ้นหัวใจ ( value ) คอยเปิด- ปิด เพื่อกันไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ
** หัวใจของคนเราประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อที่มิได้อยู่ภายใต้อำนาจบังคับของสมอง **
** หัวใจของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มี 4 ห้อง ของสัตว์ครึ่งบกครึ่น้ำมี3 ห้อง ( ยกเว้นจระเข้ มี 4 ห้อง ) หัวใจปลามี 2 ห้อง หัวใจของสัตว์ปีก มี 4 ห้อง **

ระบบหมุนเวียนของเลือดในคน

วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ชีววิทยา

1.        การศึกษาสิ่งมีชีวิตและกลุ่มของสิ่งมีชีวิต
1)       สัตววิทยา (zoology) ศึกษาเรื่องราวของสัตว์ต่างๆ
                                                               i.      สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
                                                              ii.      สัตว์มีกระดูกสันหลัง
                                                            iii.      มีนวิทยา (ปลา)
                                                            iv.      สังขวิทยา (หอย)
                                                              v.      ปักษิณวิทยา (นก)
                                                            vi.      วิทยาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
                                                           vii.      กีฏวิทยา (แมลง)
                                                         viii.      วิทยาเห็บไร
2)       พฤกษศาสตร์ (botany) ศึกษาเรื่องราวต่างๆของพืช
                                                               i.      พืชชั้นต่ำ
                                                              ii.      พืชชั้นสูง
                                                            iii.      พืชมีดอก
3)       จุลชีววิทยา (microbiology) ศึกษาเรื่องราวต่างๆของจุลินทรีย์
                                                               i.      วิทยาแบคทีเรีย
                                                              ii.      วิทยาไวรัส
                                                            iii.      ราวิทยา
                                                            iv.      วิทยาสัตว์เซลล์เดียว
2.        การศึกษาจากโครงสร้างหน้าที่และการทำงานสิ่งมีชีวิต
1)       กายวิภาคศาสตร์ (โดยการผ่าตัด)
2)       สัณฐานวิทยา (โครงสร้างรูปร่างของสิ่งมีชีวิต)
3)       สรีรวิทยา (หน้าที่การทำงานของระบบต่างๆ)
4)       พันธุศาสตร์ (ลักษณะต่างๆทางพันธุกรรมและการถ่ายทอดลักษณะ)
5)       นิเวศวิทยา (ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
6)       มิญชยวิทยาหรือเนื้อเยื่อวิทยา
7)       วิทยาเอมบริโอ (การเจริญเติบโตของตัวอ่อน)
8)       ปรสิตวิทยา (การเป็นปรสิตของสิ่งมีชีวิต)
9)       วิทยาเซลล์ (โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์)
3.        การศึกษาเรื่องราวของสิ่งมีชีวิต
1)       อนุกรมวิธาน (taxonomy) การแบ่งหมวดหมู่ การตั้งชื่อสิ่งมีชีวิต
2)       วิวัฒนาการ (evolution) เรื่องราวของสิ่งมีชีวิตตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
3)       บรรพชีวินวิทยา (paleontology) เกี่ยวกับซากโบราณของสิ่งมีชีวิต
ชีววิทยากับการดำรงชีวิต
1.        การดูแลรักษาสุขภาพของร่างกาย
-          การเลือกบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ ไม่เป็นโทษ
-          การออกกำลังกายช่วยให้สุขภาพแข็งแรง
-          การรู้จักระบบต่างๆในร่างกายทำให้รู้จักวิธีการดูแลรักษาระบบต่างๆของร่างกายอย่างถูกต้อง
2.        การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม
-          การไม่ตัดไม้ทำลายป่า เพราะต้นไม้มีความสำคัญต่อสภาพแวดล้อม
-          การปลูกพืชคลุมดิน ปลูกพืชหมุนเวียน การสงวนรักษาน้ำ ดิน แร่ธาตุ และอากาศ มีผลต่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
-          การเข้าใจสมดุลของสิ่งมีชีวิต ทั้งผู้ผลิต บริโภค ย่อยสลาย
3.        การพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อการอยู่ดีกินดีของมษุษยชาติ
-          การผลิตสารต่างๆที่เป็นอาหารและช่วยในการรักษาโรค
-          การพัฒนาทางด้านพันธุวิศวกรรม เพื่อพัฒนาสายพันธุ์พืช สัตว์ให้ผลตอบแทนหรือมีคุณภาพดียิ่งขึ้น
-          การพัฒนาเทคนิคทางด้าน DNA เพื่อใช้ตรวจหาสายสัมพันธ์พ่อแม่ลูก
-          การศึกษาทางด้านพืชสมุนไพรนำมาผลิตเป็นยาแผนโบราณ
-          การศึกษาทางด้านเทคโนโลยีการเจริญพันธ์ เล่น ผสมเทียม เด็กหลอดแก้ว ฝากตัวอ่อน
ชีวจริยธรรม
                การศึกษาทางด้านชีววิทยาเป็นการศึกษาของสิ่งมีชีวิต ต้องระมัดระวัง เพราะอาจจะผิดต่อขนบธรรมเนียมประเพณี กฎหมาย หรือจริยธรรมได้
1.        การโคลนนิ่งมนุษย์ อาจมีปัญหาต่อสถาบันครอบครัวได้
2.        การทำแท้ง
3.        การใช้สัตว์ทดลองทางชีววิทยา เพราะสัตว์มีชีวิตเช่นเดียวกับมนุษย์ ต้องให้สัตว์ให้น้อยที่สุดและได้ผลความรู้มากที่สุด
4.        การใช้การเร่งการเจริญเติบโตในพืชหรือในสัตว์ อาจก่อให้เกิดสารตกค้างได้
5.        การใช้สารฟอร์มาลิน เป็นพิษต่อผู้ที่บริโภคเข้าไปเป็นอย่างมาก
6.        การผลิตอาวุธชีวภาพ